วันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การศึกษาใหม่

การศึกษาใหม่ของเด็กไทย...
ทำมั๊ย...ทำไมต้องสอบตรง
            อยากรู้จังว่ามีแอดมิสชั่นส์แล้วทำไมต้องมาสอบตรงกันอีก มันก็สอบเข้ามหาวิทยาลัยเหมือนกันไม่ใช่รึ
            จะบอกให้ว่ามันต่างกัน เพราะแต่ละสถาบันก็ต้องการคนที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันออกไป เพื่อให้เข้ามาแล้วเรียนได้ระบบการคัดคนเข้าเรียนจึงออกมาน่าเวียนหัวอย่างที่เห็น แต่พอสรุปง่ายๆให้เข้าใจคือ
       แอดมิสชั่นส์   คือ การเก็บคะแนนจากองค์ประกอบต่างๆมาใช้ดังนี้
1.ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า มีน้ำหนักร้อยละ 20
2.ผลการสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (O-NET) ให้ค่าน้ำหนักร้อยละ 30
3.ผลการสอบความถนัดทั่วไป (GAT) ให้ค่าน้ำหนักร้อยละ 10-50
4.ผลการทดสอบความถนัดทางวิชาชีพ และวิชาการ (PAT)
ให้ค่าน้ำหนักร้อยละ 0-40
5.ผลการสอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกาย ใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาความพร้อมและความเหมาะสม ก่อนรับเข้าศึกษา ไม่คิดค่าน้ำหนักคะแนน

              สอบตรงเป็นเรื่องของแต่ละมหาวิทยาลัยที่เขาจะจัดสอบเอง กำหนดหลักเกณฑ์ คุณสมบัติต่างๆเอง จุดประสงค์หลักๆก็คือต้องการคัดเลือกคนตามระบบของเขาเองนั่นแหละ
-ข้อดีของสอบตรงก็คือ มันบอกอยู่แล้วว่า สอบตรง ชอบอะไรก็เลือกไปเลยไม่ต้องกั๊ก
-ส่วนข้อเสียก็อย่างว่า คือ อาจจะต้องเดินสายสอบ แม้ว่าปีนี้อาจจะน้อยลงไปบ้าง เพราะมีสถาบันเข้าร่วมรับตรงระบบใหม่แล้ว แต่หลายสถาบันก็ยังไม่เข้าร่วมระบบรับตรงแบบใหม่นี้ ซึ่งยังทำให้คนที่อยู่ห่างไกลอาจจะเสียเปรียบคนอยู่ใกล้พื้นที่รับสมัครแต่หากเราสามารถค้นพบตัวเองว่าชอบอะไรอย่างแท้จริงแล้ว เรื่องสอบตรงก็จะง่ายขึ้น แม้จะเดินสายแต่ก็จะเป็นการเดินสายแบบตรงๆพุ่งชนเป้าหมายไปเลย แม้ว่าตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป จะมีการนำระบบ เคลียริ่งเฮาส์มาเสริม แต่ก็ยังต้องรอดูผลลัพธ์สุดท้ายว่าจะออกมาในรูปแบบใด
ปีนี้รับตรงเปลี่ยนไป....
           หลังจากที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย(ทปอ.)ได้เห็นชอบให้จัดระบบรับตรงดำเนินการ  Clearing house  โดยให้สิทธิแต่ละมหาลัยยังคงกำหนดระเบียบการคัดเลือกเหมือนเดิม ส่วนนักเรียนก็สามารถเลือกคณะ สาขาและมหาวิทยาลัยเองตามความถนัด และความสนใจได้เช่นเดียวกัน ซึ่งก็เท่ากับว่าในการ รับตรง ในปีนี้มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่งแล้ว
      Clearing house คือ    เรื่องของการรับตรงรวม  ในตอนนี้ก็ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนแล้วนะคะ  ว่า ทปอ. มีมติให้มีการรับตรงผ่านระบบ Clearing house พี่ขอสรุปสาระสำคัญๆ เป็นขั้นตอนการทำงานของระบบเคลียริ่งเฮ้าส์  ให้ เข้าใจง่ายๆ ดังนี้

1. มหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมระบบเคลียริ่งเฮาส์ (มีทั้งหมด 25 มหาวิทยาลัย)   จะดำเนินการรับตรงเองเหมือนเดิม ทั้งออกระเบียบการรับตรง  รับสมัคร จัดสอบข้อเขียน สอบสัมภาษณ์  และ
พิจารณาผู้ผ่านการคัดเลือก

2. ทั้งคุณสมบัติผู้สมัคร และเกณฑ์ในการพิจารณา  แต่ละมหาวิทยาลัยกำหนดเอง ดังนั้นน้องต้องดูว่าโครงการรับตรงที่น้องสนใจ กำหนดคุณสมบัติไว้ยังไง ใช้คะแนนวิชาอะไรบ้าง  ซึ่ง
คะแนนมีหลายแบบ มีทั้งดูจาก

    2.1 คะแนนสอบวิชาสามัญ 7 วิชา ที่จะสอบในเดือนมกราคม จัดสอบโดย สทศ.
    2.2 คะแนนสอบ
GAT PAT รอบเดือนตุลาคม 2554 
    2.3  คะแนนที่ทางมหาวิทยาลัยจัดสอบเอง
    2.4  ดูคะแนนหลายอย่างคละกัน อาจจะวิชาสามัญและ
GAT PAT หรือ GAT PAT กับการจัดสอบเองซึ่งน้องสามารถสมัครได้หลายโครงการ หลายมหาวิทยาลัยที่น้องสนใจ และคุณสมบัติผ่าน
มหาวิทยาลัยที่เข้าร่วม
๑.     จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (http://www.chula.ac.th/)
๒. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (http://www.ku.ac.th/)
๓. มหาวิทยาลัยขอนแก่น (http://www.kku.ac.th/)
๔. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (http://www.cmu.ac.th/)
๕. มหาวิทยาลัยทักษิณ (http://www.tsu.ac.th/)
๖. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (http://www.kmutt.ac.th/)
๗. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (http://www.kmutnb.ac.th/)
๘. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (http://www.sut.ac.th/)
๙. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (http://www.tu.ac.th/)
๑๐. มหาวิทยาลัยนครพนม (http://www.npu.ac.th/)
๑๑. มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ (http://www.pnu.ac.th/)
๑๒. มหาวิทยาลัยนเรศวร (http://www.nu.ac.th/)
๑๓. มหาวิทยาลัยพะเยา (http://www.up.ac.th/)
๑๔. มหาวิทยาลัยมหิดล (http://www.mahidol.ac.th/)
๑๕. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (http://www.mfu.ac.th/)
๑๖. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (http://www.swu.ac.th/)
๑๗. มหาวิทยาลัยศิลปากร (http://www.su.ac.th/)
๑๘. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (http://www.psu.ac.th/)
๑๙. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (http://www.ubu.ac.th/)
๒๐. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (
http://www.kmitl.ac.th/)
๒๑. มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร (คณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล) (http://www.vajira.ac.th/php/)
๒๒. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา (http://www.yru.ac.th/)
๒๓. มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (คณะครุศาสตร์) (http://www.sskru.ac.th/)
๒๔. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ (http://www.uru.ac.th/)
๒๕. วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า (
http://www.pcm.ac.th/)

7 วิชาสามัญ คืออะไร และต้องสอบทั้ง 7 วิชาเลยไหม
        สทศ. บอกมาว่าเป็นข้อสอบที่ยากกว่า O-NET แต่ง่ายกว่า GAT PAT จัดทำขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาในอดีตที่สมัยก่อนหากเด็ก ม.6 สมัครรับตรง 5 ที่ ก็ต้องวิ่งหัวฟูไปสอบ 5 ครั้ง แต่หากเป็นปีนี้สบายมาก ไม่ว่าจะสมัครกี่ที่ ก็สอบแค่ครั้งเดียวจบ คือ สอบ 7 วิชาสามัญครั้งเดียว ชุดเดียว ทั่วประเทศจบไปเลย โดย 7 วิชาสามัญนี้แต่ละคณะจะสอบไม่เท่ากันนะครับ บางคณะก็สอบหมด 7 วิชา บางคณะก็สอบแค่ 3 ดังนั้น น้องๆ ต้องไปดูในระเบียบการรับตรงแต่ละมหาวิทยาลัย ว่าคณะที่เราจะเข้า เขาได้มากำหนดให้สอบวิชาไหน ส่วนมหาวิทยาลัยไหนไม่กำหนด ก็ไม่ต้องสอบจ้า

ใครต้องสมัครบ้าง
        คนที่สมัครได้คือ น้องๆ ม.6 ปวช. กศน. หรือพี่ๆ เด็กซิ่ว พ่อแม่ที่จบสูงกว่า ม.6 ขึ้นไปจ้า
มหาวิทยาลัยไหนต้องใช้คะแนน 7 วิชาสามัญนี้บ้าง
        มีประมาณ 7 แห่งครับ ยกตัวอย่างเช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (คณะอักษรศาสตร์ - คณะนิติศาสตร์ - คณะเศรษฐศาสตร์ - คณะวิทยาศาสตร์ - คณะครุศาสตร์) มหาวิทยาลัยศิลปากร (คณะอักษรศาสตร์ - คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร - คณะวิทยาการจัดการ - คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร - คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม - คณะวิทยาศาสตร์ - คณะศึกษาศาสตร์) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (คณะสหเวชศาสตร์) รับตรง กสพท. (คณะแพทยศาสตร์ - คณะทันตแพทยศาสตร์) และยังมีอีกหลายวิทยาลัยนะครับ น้องๆ อย่าลืมไปเช็คที่เว็บมหาวิทยาลัยนั้นๆ ด้วยนะ

7 วิชาสามัญกับเคลียริ่งเฮ้าส์ มันคืออันเดียวกันไหม
        คนละอันกันครับ พูดง่ายๆ ก็คือ 7 วิชาสามัญเป็นส่วนหนึ่งในระบบเคลียริ่งเฮ้าส์ โดยยกตัวอย่างว่า ระบบ "เคลียริ่งเฮ้าส์" จะเป็นระบบที่เปิดให้น้องๆ มายืนยันสิทธิ์เข้าศึกษาได้เพียงแค่ 1 คณะเท่านั้น เช่น พี่ลาเต้ วิ่งสอบรับตรงทั่วประเทศติดทั้งหมด 4 มหาวิทยาลัย โดย 4 มหาวิทยาลัยที่ติดนั้นเข้าร่วม "เคลียริ่งเฮ้าส์" ทั้งหมด พอถึงเวลาที่ยืนยันสิทธิ์ พี่ลาเต้ ก็เลือกได้แค่ 1 แห่งเท่านั้น ส่วนที่เหลืออีก 3 แห่งก็จะกลายเป็นที่นั่งว่าง และรับเพิ่มในรอบแอดมิชชั่นกลางต่อไป ซึ่งต่างจากปีก่อนๆ ที่หากสอบตรงติด 4 ที่ ก็ยืนยันสิทธิ์มัน 4 ที่ไปเลยก็ได้ จนอาจเป็นกักที่คนอื่นในที่สุด T^T ส่วน 7 วิชาสามัญ เป็นข้อสอบ 7 วิชาที่จัดสอบโดย สทศ. ออกมาเพื่อลดปัญหาการวิ่งรอกสอบของน้องๆ และลดภาระการจัดสอบของแต่ละมหาวิทยาลัยนั้นเอง (GET แล้วใช่ปะ)

ตัวอย่างโควตา ม.ศิลปากร คณะ ICT มีกำหนดให้ใช้คะแนนจาก 7 วิชาสามัญ
 มีคณะไหน ที่สอบทั้ง GAT PAT และ 7 วิชาสามัญ แถมยังเข้าเคลียริ่งเฮ้าส์ไหมครับ
        มีครับ หลายคณะเลย พี่ขอยกตัวอย่างเป็นคณะสหเวชศาสตร์ ธรรมศาสตร์ดีกว่า น้องๆ ที่สอบคณะนี้ก็ใช้ชีวิตตามปกติไปสอบ GAT PAT ในเดือน พ.ย. 54 จากนั้นเดือน ม.ค. 55 ก็ไปสอบ 7 วิชาสามัญ (รู้สึกสหเวชฯ จะใช้แค่ 6 วิชา) ซึ่งหลังจากที่กระบวนสอบต่างๆ เสร็จ ก็จะมีการประกาศผลว่าใครติด หรือไม่ติด (หากติดก็ดีใจด้วย เย้ เย้) จากนั้นประมาณเดือนมีนาคมปี 55 น้องๆ ที่ติดผ่านรับตรงของสหเวชฯ ม.ธรรมศาสตร์ ก็จะต้องไปยืนยันสิทธิ์ในระบบ "เคลียริ่งเฮ้าส์" ทางเว็บไซต์ของ สอท.เพื่อยืนยันว่าจะเลือกศึกษาเข้าที่ไหน ไม่ว่าเราจะติดกี่มหาวิทยาลัย หรือแม้แต่จะติดแค่มหาลัยเดียว ก็ต้องยืนยันสิทธิ์ครับ เพราะไม่งั้นอดเรียนแน่ๆ

สมัครที่ไหน อย่างไร
        ขั้นตอนการสมัคร จะเหมือนกันกับสมัคร GAT PAT เลยครับ มีให้เลือกสนามสอบด้วยนะ ระบบจะเปิดให้สมัครตั้งแต่วันที่ 1 - 30 ตุลาคม 54 และสอบในต้นเดือนมกราคม 55 ส่วนค่าสมัครวิชาละ 100 บาทคร้าบ อ๋อๆ สนามที่ใช้สอบเบื้องต้นมี 4 ศูนย์นะครับ คือ กรุงเทพฯ (สนามสอบจุฬาฯ ธรรมศาสตร์) ขอนแก่น (ม.ขอนแก่น) เชียงใหม่ (ม.เชียงใหม่) พิษณุโลก (ม.นเรศวร) และสงขลา (มอ.หาดใหญ่) ซึ่งหากมียอดผู้สมัครมาก ทาง สทศ.อาจเพิ่มสนามสอบให้ครับ รอติดตามๆ ว่าแล้วก็ไปสมัครกันเลยที่เว็บ www.niets.or.th

7 วิชาสามัญ มีอะไรบ้าง
ในวิชาภาษาไทย สังคม  คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ฟิสิกส์  เคมี  ชีววิทยา
เนื้อหาการสอบ
วิชาภาษาไทย  จำนวน 50 ข้อ 100 คะแนนเนื้อหา  :
                1.การอ่าน
                2.การเขียน
                3.การฟัง และการพูด
                4.หลักการใช้ภาษา
 
วิชาสังคมศึกษา  ศาสนา และวัฒนธรรม  จำนวน 50 ข้อ 100 คะแนนเนื้อหา  :
                1.ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม
                2.หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดาเนินชีวิตในสังคม
                3.เศรษฐศาสตร์
                4.ประวัติศาสตร์
                5.ภูมิศาสตร์
 
วิชาภาษาอังกฤษ  จำนวน 100 ข้อ 100 คะแนน
                1.ทักษะการฟัง-การพูด (Listening-Speaking Skills)
                                1.1 Everyday communication
                                1.2 Academic communication
                2.ทักษะการอ่าน (Reading Skills)
                                2.1 Academic
                                2.2 General
                3.ทักษะการเขียน (Writing Skills)
                                3.1 Academic
                                3.2 General
 
วิชาคณิตศาสตร์  จำนวน 30 ข้อ 100 คะแนน (สายวิทย์ และสายศิลป์ ใช้ข้อสอบชุดเดียวกัน)
                1.ความรู้พื้นฐาน (เซตและการดาเนินการของเซต ตรรกศาสตร์เบื้องต้น ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน)
                2.ระบบจานวน
                3.เรขาคณิต
                4.พีชคณิต
                5.ความน่าจะเป็นและสถิติ
                6.แคลคูลัส
                7.ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

 
วิชาฟิสิกส์   จำนวน 25  ข้อ 100 คะแนน
                1.
กลศาสตร์   จลนศาสตร์ แรงและการเคลื่อนที่ แรงต้านการเคลื่อนที่การเคลื่อนที่แบบวงกลม การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์การเคลื่อนที่แบบมีคาบ (การเคลื่อนที่แบบกวัดแกว่ง)
                2.
สมบัติของสสาร ความยืดหยุ่น   กลศาสตร์ของไหล คลื่น แสง เสียง
                3.
ไฟฟ้า-ไฟฟ้าสถิต ไฟฟ้ากระแสตรง ไฟฟ้ากระแสสลับ  แม่เหล็ก-แรงแม่เหล็ก สนามแม่เหล็ก การเหนี่ยวนำมอเตอร์/ไดนาโม คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า  ฟิสิกส์ยุคใหม่-แบบจาลองอะตอม ฟิสิกส์ควอนตัมสมการปฏิกิริยานิวเคลียร์ การสลายตัวของนิวเคลียส
 
 
วิชาเคมี  จำนวน  50  ข้อ 100 คะแนน
               1.อะตอมและตารางธาตุ
               2.พันธะเคมี
               3.สมบัติของธาตุและสารประกอบ
               4.ปริมาณสัมพันธ์ในปฏิกิริยาเคมี
               5.ของแข็ง ของเหลวและแก๊ส
               6.อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
               7.สมดุลเคมี
               8.กรด-เบส
               9.ไฟฟ้าเคมี
              10.ธาตุและสารประกอบในอุตสาหกรรม
              11.เคมีอินทรีย์
              12.เชื้อเพลิงซากดึกดาบรรพ์และผลิตภัณฑ์
              13.สารชีวโมเลกุล
 
วิชาชีววิทยา จำนวน  100   ข้อ 100 คะแนน1.สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดารงชีวิต
                1.1พื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
                1.2โครงสร้าง และหน้าที่ของระบบต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทางานสัมพันธ์กัน
                1.3กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนาความรู้ไปใช้ในการดารงชีวิตและดูแลสิ่งมีชีวิต
                1.4กระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
2.ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
                2.1ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต
                2.2ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างๆ ในระบบนิเวศ
                2.3การสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนาความรู้ไปใช้ประโยชน์
                2.4 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
 
         1 สัปดาห์ก่อนสอบตรงทำตัวอย่างไร
1.เปิดหนังสือทบทวนเนื้อหาทั้งหมด โดยเริ่มจากวิชาที่มีเนื้อหายากก่อน ทบทวนให้มันเสร็จก่อนวิชาอื่น เพราะมีหลายๆคน เริ่มทบทวนวิชาง่ายๆก่อน แล้วเอาวิชายากๆไว้วันสุดท้าย พอถึงเวลาจริงๆปรากฏว่า ทบทวนวิชายากที่สุดไม่ทัน เพราะมีเวลาไม่พอในการอ่าน การอ่านอะไรที่ง่าย สมองจะผ่อนคลาย ไม่เครียด ฉะนั้นควรเอาสิ่งที่ง่ายสำหรับเราไว้วันท้ายๆ
2.ผลัดกันติวหนังสือกับเพื่อน ถือเป็นการทบทวนความรู้ที่เรามี แบบเน้นๆ ยิ่งลิสต์หัวข้อมาอธิบายให้เพื่อนๆฟัง ได้โดยไม่ต้องเปิดหนังสือจะยิ่งดีมาก เพราะการพูดเนื้อหาที่มีออกมา มันทำให้เราจดจำแม่นยิ่งกว่าการอ่านในใจ
3.พักผ่อนให้เพียงพอ เพราะ 7 วันก่อนสอบ ไม่ใช่เวลาที่จะต้องมานั่งอ่านหนังสือข้ามวันข้ามคืน เราให้เวลากับมันแค่พอเหมาะพอควร แล้วพักผ่อนให้เยอะๆ เพื่อที่สมองจะได้กอบโกยข้อมูลช่วงสุดท้ายได้อย่างเต็มที่ คนที่ชอบอดหลับอดนอนในช่วงใกล้สอบ เป็นคนที่ฆ่าตัวเองโดยไม่รู้ตัว เพราะจะทำให้ความพร้อมของสมองมีน้อยลง
4.หาข้อสอบมาทำซ้อมมือ ช่วงนี้เหมาะมากกับการทำข้อสอบเก่าๆมากที่สุด เพราะเป็นช่วงที่เราอ่านหนังสือมามากพอแล้ว ลองวัดตัวเองดู ถ้ายังไม่แน่นตรงไหน ก็แน่นย้ำมันเข้าไปอีก
5.ออกกำลังจิตบ้าง ไปหากิจกรรมรื่นเริงบันเทิงใจทำ บริหารสุขภาพจิต ด้วยการเล่นเกมส์ ดูหนัง ฟังเพลง แต่อย่าให้เวลากับกิจกรรมเหล่านั้น นานเกินไปจนลืมความรับผิดชอบของตัวเอง
6.ช่วงนี้อย่าคุยโทรศัพท์นาน เพราะนอกจากจะเสียเวลา บางทีอาจทำให้จิตใจวอกแวก และเครียดได้ เพราะการคุยโทรศัพท์นานๆบางทีเกิดการโม้เพลิน คลื่นโทรศัพท์อาจทำให้สมองล้า เมื่อกลับมาอ่านหนังสือ อาจทำให้เกิดอาการเซ็ง อ่านไม่รู้เรื่อง
7.เก็บสถิติคะแนน หรือสถิติการสอบอื่นๆ ไว้ให้ลับสายตา เพราะเวลานี้ ไม่ใช่เวลามาพิจารณาสถิติหรือความเป็นไปได้ในการสอบติด ควรอดใจรอให้สอบเสร็จก่อนแล้วค่อยพิจารณา
8.คืนสุดท้ายก่อนสอบ ต้องทิ้งทุกอย่าง แม้วิชาที่ทบทวนวันนี้จะเป็นวิชาที่ง่ายที่สุด แต่การทบทวนทุกอย่างจะสิ้นสุดก่อน 6 โมงเย็น หรือถ้าเร็วกว่านั้นได้จะดีมาก หลังจากนั้นก็ดูหนัง ฟังเพลง เล่นอินเตอร์เน็ตผ่อนคลายตัวเอง และนอนหลับแต่หัวค่ำ ถ้ารู้ตัวเองจะตื่นเต้น นอนได้หลับ วันนั้นให้ออกกำลังการสักครึ่งชั่วโมง เพราะการออกกำลังกายจะช่วยให้นอนได้



สำหรับคนที่อยากเรียนจุฬา
CU-TEPคือ
CU-TEP (Chulalongkorn University Test of English Proficiency) เป็นชื่อของแบบทดสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไปด้านการใช้ภาษาอังกฤษ ข้อสอบ CU-TEP นั้นได้รับการออกแบบโดยสถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CULI: Chulalongkorn University Language Institute) โดยข้อสอบ CU-TEP เน้นการวัดระดับการใช้ภาษาทั้งในระดับ การรับรู้และระดับการใช้ภาษาเพื่อสื่อสารผลสอบ CU-TEP สามารถนำไปใช้ประกอบการสมัครศึกษาต่อในหลักสูตรนานาชาติในระดับปริญญาตรีและหลักสูตรในระดับปริญญาโทและเอกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ข้อสอบ CU-TEP มีคะแนนเต็ม 120 คะแนน แต่การประเมินผลยังมีการเปรียบเทียบกับผลคะแนนสอบ TOEFL PBT ให้ด้วยว่าหากสอบ TOEFL ในแบบ Paper Based Test (PBT) จะได้คะแนนประมาณเท่าไรซึ่งหลักสูตรแต่ละหลักสูตรก็จะ กำหนดคะแนนขั้นต่ำที่เทียบกับ TOEFL PBT เอาไว้ โดยหลักสูตรนานาชาติในระดับปริญญาตรีส่วนใหญ่ มักต้องการผลคะแนน CU-TEP ที่เทียบกับ TOEFL PBT แล้ว ไม่ต่ำกว่า 550 คะแนน

ผลสอบ CU-TEP นำไปใช้สมัครเรียนที่ไหนได้บ้าง
         ผู้ที่เข้าทดสอบแบบทดสอบ CU-TEP (Chulalongkorn University Test of English Proficiency) 
สามารถนำคะแนนที่สอบได้ไปยื่นสมัครเพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีหลักสูตรนานาชาติของ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมทั้งหลักสูตรปริญญาโทและเอกทั้งหลักสูตรนานาชาติและหลักสูตร
ภาษาไทยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากนี้บางหลักสูตรของมหาวิทยาลัยอื่นๆ โดยเฉพาะ
หลักสูตรนานาชาติในระดับปริญญาตรีก็ยอมรับผล CU-TEP ด้วยเช่นกันสถาบันเอมส์มีบุคลากรที่ให้คำปรึกษาด้านการศึกษาต่อโดยเฉพาะ นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรมสัมมนาเกี่ยวกับการศึกษาต่อในหลักสูตรนานาชาติของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยอื่นๆเป็นประจำโดยสามารถตรวจสอบตารางการสัมมนาได้

หน่วยงานรับผิดชอบ ค่าสอบและสถานที่สอบ CU-TEP 
          หน่วยงานที่รับผิดชอบในการดำเนินการจัดสอบ CU-TEP ได้แก่ ศูนย์ทดสอบทางวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยผู้ที่ต้องการสอบ CU-TEP นั้นสามารถลงทะเบียนสมัครสอบผ่านทางเว็บไซท์เท่านั้นผู้สมัครสอบต้องลงทะเบียนผ่านระบบออนไลน์และชำระค่าสมัครสอบจำนวน 600 บาท ตามสาขาของธนาคารที่กำหนดภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในใบแสดงหลักฐานการชำระเงิน ภายหลังจากที่สมัครสอบและชำระค่าสมัครเรียบร้อยแล้ว ผู้สมัครสอบไม่สามารถทำเรื่องขอคืนเงินค่าสมัครสอบได้ในทุกกรณีสถานที่สอบจะถูกแจ้งทางไปรษณีย์หรือผู้สมัครสามารถตรวจสอบได้เองผ่านเว็บไซท์ประมาณ 1 สัปดาห์ก่อนวันทดสอบ (ต้องใส่ Login ID) โดยสถานที่สอบเป็นอาคารภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั่นเองในวันสอบผู้สมัครจะต้องนำหลักฐานแสดงตนอันได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชนหรือหนังสือเดินทาง (Passport) เท่านั้น ทางศูนย์ทดสอบจะไม่รับบัตร แสดงตนอื่นๆ อาทิ บัตรประจำตัวข้าราชการ ใบขับขี่ หรือบัตรนักเรียน/นักศึกษาเพื่อใช้ในการแสดงตนเข้าสอบ ผลสอบจะถูกแจ้งให้ผู้ทดสอบทราบทางเว็บไซท์ภายใน 2 สัปดาห์หลังวันทดสอบ (ต้องใส่ส่วนใบรายงานผลคะแนนจะถูกส่งทางไปรษณีย์ภายใน 3 สัปดาห์หลังวันทดสอบ
ช่วงเวลาในการสอบ CU-TEP
หลักสูตร CU-TEP มีช่วงเวลาในการสอบประมาณ 12 ครั้งต่อปี โดยสามารถตรวจสอบตารางสอบได้
วิชาที่ AIMS เปิดสอนในหลักสูตร CU-TEP
สถาบัน AIMS เปิดสอนวิชาเพื่อเตรียมสอบ CU-TEP ดังต่อไปนี้
       1. แบบกลุ่ม (Regular Class) ในช่วงก่อนสอบ       2. แบบเดี่ยว (Private Class) ติดต่อ AIMS เพื่อขอรายละเอียดได้ที่ 02 2549 300-2 (สยาม) หรือ02 644 9620-1 (CP Tower 3 พญาไท)



มหาวิทยาลัยที่เข้าร่วม
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- มหาวิทยาลัยมหิดล
- มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
- University of Oxford
- University of Cambridge
- Massachusetts Institute of Technology (MIT)
- Brown University
- Boston University
- George Washington University
- University of Minnesota - Twin Cities
- Indiana University - Bloomington

1 ความคิดเห็น: